FEATURED STORIES

ระบบวัดขนาดต้อเนื้อด้วยกระบวนการประมวลผลภาพ

ระบบวัดขนาดต้อเนื้อด้วยกระบวนการประมวลผลภาพ เพื่อช่วยแพทย์ในการคัดกรองประเภทและตรวจวัดขนาดต้อเนื้อของผู้ป่วย เพิ่มประสิทธิภาพและลดความคลาดเคลื่อนในการตรวจวัด

แอปพลิคชันเพื่อดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วย COVID-19 รักษาตัวที่โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์

แอปพลิเคชันนี้พัฒนาขึ้นเพื่อให้จิตแพทย์สามารถติดตามสุขภาพใจของผู้ป่วยก่อน และระหว่างการกักตัวในโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ ทำให้สามารถผสมผสานการพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมทั้งร่างกายและจิตใจ

“สมาร์ทโลคอลไกด์” ต้นแบบนวัตกรรมเพื่อชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์

เปิดตัวต้นแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน “สมาร์ทโลคอลไกด์” (Smart Local Guide) แอปพลิเคชั่นที่นายธนโชติ เฉวียงหงษ์ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำขึ้นเพื่อกระตุ้นและสนับสนุนการท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

การรู้จำเสียงนับเลขภาษาไทยของเด็กก่อนวัยเรียน

นายณัฐพิชญ์ยุกต์ ศิวะหรรษาพันธ์ และนายสิรภพ ชาตะรูปะ
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.ประภาพร รัตนธำรง และ ดร.วาทยา ชุณห์วิจิตรา (NECTEC)
สมาร์ทแมท เว็บแอปพลิเคชันเพื่อช่วยในการประเมินพัฒนาการทักษะเชิงตัวเลขและการฝึกทักษะเชิงตัวเลขเบื้องต้นสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนในรูปแบบของเกม

การให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วยเทคโนโลยี
คอนเทนเนอร์และการจัดการคอนเทนเนอร์

นายทศพล ปราสาทกลาง
และนายวุฒิพงศ์ วงษ์เเสงทอง

อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.ประภาพร รัตนธำรง
การจัดการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยระบบอาศัยการสร้างคลัสเตอร์ระหว่างเครื่องควบคุมและเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องแลป หรือ ไคลแอนต์ (Client) 

ระบบบริหารและจัดการกิจกรรมฝึกปฏิบัติ
สำหรับผู้มีภาวะเครียด

นายสุริยา มีขุนทด และ
นางสาวทวิพร ทัดแก้ว
อาจารย์ที่ปรึกษา: รศ.ดร เยาวดี
เต็มธนาภัทร์
และ นางสาว พรทิพย์ แม่นทรง
ระบบบริหารและจัดการกิจกรรมสำหรับผู้ที่มีภาวะเครียด เพื่อบริหารและสร้างกิจกรรมพัฒนาทักษะการจัดการความเครียดของผู้มีภาวะเครียด

เว็บแอปพลิเคชั่นอ่านบทละครอิเล็กทรอนิกส์

นายวรากร วิไลรัศมี และ
นายนันทวัฒน์ เจริญผล
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.ปกรณ์
ลี้สุทธิพรชัย
ระบบอ่านบทละครอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้ที่มีความต้องการจึงได้มีการจัดทำเว็บแอปพลิเคชัน (Web application) ด้วยการนำเทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงจากข้อความ ( Text to speech ) เพื่อให้ผู้อ่านสามารถรับฟังเนื้อของบทละครและเสียงของตัวละครได้เสมือนจริง

จากใจศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน

อ่านเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจ และประสบการณ์ประทับใจในการเรียนในรั้วคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของบรรดาศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันหลากหลายสาขาวิชาชีพ

“ตลอด 4 ปีในรั้ว SCI TU ถือเป็นความทรงจำดีๆ ที่ต่อให้จบไปอีกกี่ปีผมก็ไม่มีทางลืมได้ลง เพราะที่นี่ได้มอบทั้งความรู้และประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม ทำผมได้รู้จักกับเพื่อนใหม่หลายคน ได้ลองทำในสิ่งใหม่ๆ ได้เจออาจารย์ที่เก่งและคอยช่วยสนับสนุนทุกๆ อย่าง”

ยุทธนา บุญปาลิต (โอ๊ต)

KBTG, ศิษย์เก่า CSTU 31

“สิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับการเรียนป.โท คือ การได้ทำงานวิจัย ซึ่งเราว่าเราชอบนะ แม้ว่ามันจะลำบาก แต่ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น ยิ่งถ้าเราเจออ.ที่ปรึกษาเก่งๆ เราจะยิ่งเรียนรู้ได้มาก แต่จะหวังพึ่งแต่อ.ที่ปรึกษาอย่างเดียวก็ไม่ได้ เราต้องขวนขวายเองด้วย”

สุชานาถ มั่งคั่งเจริญ (มายด์)

นักศึกษาปริญญาโท CSTU, ศิษย์เก่า CSTU 29

“อยากบอกน้อง ๆ ทุกคนที่กำลังเรียนอยู่ว่า ตั้งใจเรียนให้มาก ๆ ทั้งปฏิบัติและทฤษฎี พี่ทำงานปีที่สิบกว่า ๆ แล้ว ยิ่งนานวันยิ่งเจอปัญหาที่ทำให้เรื่องที่อาจารย์เคยสอนมันย้อนกลับมาบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็นึกขอบคุณอาจารย์ที่ตั้งใจสอนพวกเราอย่างเต็มที่ในตอนนั้น น้อง ๆ ที่หวังจะไปให้ไกลบนเส้นทางนี้ ตั้งใจเรียนไว้นะ รับรองว่าจะเป็นประโยชน์แน่นอนครับ”

ธนวัฒน์ ทัศนา (แอมป์)

ศิษย์เก่า CSTU 20

“ที่ SCI TU แต่ละวิชาเป็นหลักสูตรที่ทันสมัย และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลองปฏิบัติในหลายๆ รูปแบบ เพื่อฝึกฝีมือให้คล่องก่อนออกไปทำงานจริง ซึ่งล้วนแต่เป็นทักษะที่หลายๆ องค์กรต้องการ”

นพรุจน์ พิสุทธิ์จรุงใจ (ตี๋)

ศิษย์เก่า CSTU 28